วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 6


แบบฝึกหัดหน่วยที่ 6
1. บอกความหมายของ Data Dictionary
ตอบ     Data Dictionary คือ พจนานุกรมข้อมูล ที่แสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งประกอบด้วยรีเลชั่น (Relation Name), แอตทริบิวต์ (Attribute), ชื่อแทน (Aliases Name), รายละเอียดข้อมูล (Data Description), แอตทริบิวโดเมน (Attribute Domain), ฯลฯ  ทำให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  พจนานุกรมข้อมูลเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของพจนานุกรมโดยทั่วไปและรูปแบบของข้อมูลในระบบงานคอมพิวเตอร์  เพื่ออธิบายชนิดของข้อมูลแต่ละตัวว่าเป็น ตัวเลข อักขระ ข้อความ หรือวันที่ เป็นต้น  เพื่อช่วยในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ในการอ้างอิงหรือค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูล  หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า Data Dictionary คือ เอกสารที่ใช้อธิบายฐานข้อมูลหรือการจัดเก็บฐานข้อมูล

2. สัญลักษณ์ของ Data Dictionary มีกี่สัญลักษณ์อะไรบ้าง
ตอบ     สัญลักษณ์ที่ใช้ในพจนานุกรมข้อมูล ได้แก่
=  หมายถึง  เท่ากับ
+  หมายถึง  และ
{} หมายถึง  มีการซ้ำของส่วนย่อยข้อมูล
[ l ] หมายถึง  ทางเลือกให้เลือกส่วนย่อยของข้อมูลตัวใดตัวหนึ่ง
()  หมายถึง  การเกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ จะปรากฎหรือไม่ปรากฎก็ได้

3. ให้ยกตัวอย่างการใช้งานสัญลักษณ์ Data Dictionary อย่างละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ

4. ให้เขียน Data Dictionary บัตรนักศึกษาซึ่งประกอบด้วย (รหัส , คำนำหน้านาม, ชื่อ-สกุล, ระดับชั้น ,แผนกวิชา)
ตอบ



5. ให้เขียน Data Dictionary ของลูกค้า ประกอบด้วย รหัส , ชื่อสกุล , ประเภทหน่วยงาน, ที่อยู่
ถนน อำเภอ จังหวัด
ตอบ

ตอนที่ 2 จากโจทย์ต่อไปนี้ ให้นักศึกษาเขียน Data Dictionary
ห้าง เจริญศรี ประกาศลดราคาสินค้าประจำปีของห้าง โดยมีการลดราคาดังนี้
o แผนกเสื้อผ้า ลดราคา 35 %
o แผนกเครื่องเขียน ลดราคา 25 % ,
o แผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ลดราคา 15%
o แผนกอื่น ลดราคา 10%
 พิเศษ : บิลซื้อ ต่อวัน รวมทุกแผนก ยอดครบ 500 บาท สามารถแลกของแถม ได้ 1 อย่าง
โดยมี ให้เลือกคือ แผ่นซีดีเพลง และ แผ่นหนัง
คำสั่ง : ให้ตอบคำถาม และเขียนภาพประกอบคำตอบ
1. เขียนสัญลักษณ์ แผนกทั้งหมดของห้าง
ตอบ
Department
(แผนก)
Department " (ชื่อแผนก)
- แผนกเสื้อผ้า
- แผนกเครื่องเขียน
- แผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต
- แผนกอื่น
Discount
(ราคา/ส่วนลด)
Discount " (ราคาสินค้า)
- ราคาเสื้อผ้า * 35/100
- ราคาเครื่องเขียน * 25/100
- ราคาสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต * 15/100
- ราคาสินค้าอื่น * 10/100
Trade
(แลกซื้อ)
Trade " (500 - ราคา/ส่วนลด)
- แผ่นซีดีเพลง
- แผ่นหนัง

2. เขียนสัญลักษณ์ การตรวจสอบแผนก เพื่อลดราคา
ตอบ
แผนกสินค้า  =  ชื่อแผนกสินค้า
ราคาสินค้า  = ราคาสินค้า
ส่วนลด = ราคาสินค้า/ส่วนลด
แลกซื้อ = *ถ้ามี* 500 - ยอดรวมทั้งหมด {>500 "แลกซื้อไม่ได้",<500"แผ่นซีดีเพลง,แผ่นหนัง"}

3. เขียนสัญลักษณ์ การตรวจสอบบิลซื้อ
ตอบ
ใบซื้อสินค้า  วันที่ซื้อ
รายการ = แผนกสินค้า+ชื่อสินค้า+ราคาสินค้า
ส่วนลด  =  ราคาสินค้า/ส่วนลด
ยอดรวม = ราคาสินค้า/ส่วนลด
แลกซื้อ = *ถ้ามี*  500 ยอดรวม {>500 "แลกซื้อไม่ได้",<500"แผ่นซีดีเพลง,แผ่นหนัง"}



4. เขียน Data Dictionary การได้รับของแถม
ตอบ


5. เขียน Data Dictionary ภาพรวมของการเลือกซื้อสินค้า ในห้าง
ตอบ


วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 4


แบบฝึกหัดหน่วยที่ 4

คำสั่ง ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้บอกความหมายของการวิเคราะห์ระบบ
ตอบ       การวิเคราะห์ระบบ คือ การศึกษาวิถีทางหรือแนวทางการดำเนินงานเพื่อนนำไปใช้ในการออกแบบและสร้างระบบงานสารสนเทศด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบ คือผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ และบางครั้งเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบควรมีความรู้ด้านเทคนิค มีทักษะ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการจัดการ และการสื่อสารระหว่างบุคคล
2. อธิบายวิธีการการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์พร้อมยกตัวอย่างมา 3 วิธี
ตอบ       การรวบรวมข้อมูล ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล จะเป็นในส่วนการศึกษาระบบงานเดิม คือ เริ่มจากการศึกษาเอกสารต่างๆ สังเกตดูการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในระบบ วิธีการทั้งหมดเรียกว่า เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวอย่าง เช่น คู่มือ ใบทวงหนี้ รายงาน

3. ให้บอกความหมายของเครื่องมือแผนภาพกระแสข้อมูล หรือ (Data Flow Diagram: DFD) พร้อมบอกสัญลักษณ์ของเครื่องมือว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ       ความหมายเครื่องมือแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram-DFD) เป็นเครื่องมือเชิงโครงสร้างที่ใช้บรรยายภาพรวมของระบบโดยแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบหรือโพรเซส(process)  ระบุแหล่งกำเนิดของข้อมูล การไหลของข้อมูล ปลายทางข้อมูล การเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล กล่าวง่าย ๆ คือดีเอฟดีจะช่วยแสดงแผนภาพ ว่าข้อมูลมาจากไหน จะไปไหน เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน มีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลระหว่างทางเรียกว่าแผนภาพกระแสข้อมูลหรือ แผนภาพแสดงความเคลื่อนไหวของข้อมูลโดยดีเอฟดี

            สัญลักษณ์ของเครื่องมือ




4. ให้บอกความหมายของเครื่องมือ คำอธิบายข้อมูล (Data Description) หรือ Data Dictionary พร้อมบอกสัญลักษณ์ของเครื่องมือว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ       ความหมายของเครื่องมือ คำอธิบายข้อมูล Data Dictionary คือ พจนานุกรมข้อมูล ที่แสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งประกอบด้วยรีเลชั่น (Relation Name), แอตทริบิวต์ (Attribute), ชื่อแทน (Aliases Name), รายละเอียดข้อมูล (Data Description), แอตทริบิวโดเมน (Attribute Domain), ฯลฯ  ทำให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  พจนานุกรมข้อมูลเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของพจนานุกรมโดยทั่วไปและรูปแบบของข้อมูลในระบบงานคอมพิวเตอร์  เพื่ออธิบายชนิดของข้อมูลแต่ละตัวว่าเป็น ตัวเลข อักขระ ข้อความ หรือวันที่ เป็นต้น  เพื่อช่วยในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ในการอ้างอิงหรือค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูล  หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า Data Dictionary คือ เอกสารที่ใช้อธิบายฐานข้อมูลหรือการจัดเก็บฐานข้อมูล
สัญลักษณ์ของเครื่องมือ
=  หมายถึง  เท่ากับ
+  หมายถึง  และ
{}  หมายถึง  มีการซ้ำของส่วนย่อยข้อมูล
[ l ] หมายถึง  ทางเลือกให้เลือกส่วนย่อยของข้อมูลตัวใดตัวหนึ่ง
()  หมายถึง  การเกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ จะปรากฏหรือไม่ปรากฏก็ได้

5. ให้บอกความหมายของเครื่องมือ การสร้างแบบจำลองระบบ (System Modeling) พร้อมยกตัวอย่างมา 1 ตัวอย่าง
ตอบ       แบบจลอง คือ สัญลักษณ์ที่ใช้จำลองข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ เป็นแผนภาพที่
แสดงให้เห็นในแต่ละมุมมองของระบบ
แบบจำลองการวิเคราะห์คือ แบบจำลองที่เขียนขึ้นจากข้อกำหนดความต้องการของระบบสะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่การทำงานของระบบด้านต่างๆ และจะถูกนำไปใช้ในระยะการออกแบบต่อไป
ตัวอย่าง แผนภาพที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ 3 มิติ คือ ภาพที่สร้างขึ้นจากการจำลองโมเดล 3 เป็นต้น

6. ผังงานระบบ (System Flowchart) หมายถึงอะไร พร้อมยกตัวอย่างมา 1 ตัวอย่าง
ตอบ       ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้างๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย

ตัวอย่าง ผังงานการรับประทานยา




7. การจัดโครงการ (Project Management) มีลักษณะและขั้นตอนการทำงานอย่างไร
ตอบ       การจัดการโครงการ (Project management) ลักษณะในแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการระบุวันเริ่มและวันสิ้นสุดงาน ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากการทำงานธุรกิจทั่วไป ที่มีลักษณะงานที่มีรูปแบบการทำงานแน่นอน และมีการทำงานซ้ำเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าตามต้องการ การจัดการงานต่างๆ และความรู้ทางเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ ในการจัดการโครงการ และ การจัดการทางธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกัน
            ขั้นตอนการทำงาน มีดังนี้ การกำหนดโครงการ การจัดเตรียมโครงการ การประเมินโครงการและการอนุมัติโครงการ
การนำโครงการไปปฏิบัติ การประเมินผลโครงการ

8. การสร้างแบบข้อมูล (Data Modeling) คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
ตอบ       การสร้างแบบข้อมูล (Data Modeling) การสร้างแบบข้อมูลก็คือการออกแบบฐานข้อมูลต้องการออกแบบว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร และ การดังข้อมูลที่ใช้ทั้งหมดมีอะไรบ้าง ตัวอย่างฐานข้อมูลอาจจะเป็นแบบตารางธรรมดา (Relation Database) และการดึงข้อมูลใช้โดยมีคีย์เป็นตัวใช้ค้นหาเป็นแบบอินเด็กซ์ไฟล์ (Index File) เป็นต้น

9. ให้อธิบายลักษณะของ แบบจำลองข้อมูล (Data Model)
ตอบ       ข้อมูลในฐานข้อมูลส่วนใหญ่ มักจะมีรายละเอียดของข้อมูลมากมายมหาศาล ซึ่งการจัดเก็บ และเลือกใช้ให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วย และรายละเอียดบางอย่าง ที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ก็ควรจะถูกซ่อนไว้จากผู้ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน รูปแบบที่จัดเก็บ รายละเอียดของข้อมูลนี้ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ด้วยกัน ได้แก่
แบบจำลองข้อมูลระดับสูง (Conceptual Data Mode) แบบจำลองข้อมูลระดับพัฒนา (Implementation Data Model) แบบจำลองข้อมูลระดับโครงสร้าง หรือ ระดับล่าง (Physical Data Model หรือ Low-Level Data Model)

10. จากรูปต่อไปนี้เป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือใดของการวิเคราะห์ระบบ



ตอบ       แบบจำลองข้อมูล (Data Model) จำลองโครงสร้างข้อมูลทั้งหมดในระบบ - ERD
แบบจำลองข้อมูล คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เรียกว่า Entity Relationship Diagram หรือเรียกย่อๆ ว่า E-R Diagram เป็นแผนภาพที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจำลองข้อมูลประกอบด้วย Entity (กลุ่มของข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกัน)
และ Relationship หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลใน entityทุก Entity จะมี Attribute บอกลักษณะหรือคุณสมบัติ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3

1. วงจรพัฒนาระบบ มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ    วงจรการพัฒนาระบบ หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC เป็นวิธีการที่นักวิเคราะห์ระบบใช้ในการ
พัฒนาระบบงาน เพื่อที่จะใช้เรียงลำดับเหตุการณ์หรือกิจกรรม ที่จะต้องกระทำก่อนหรือกระทำใน
ภายหลัง เพื่อที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบงานทำได้ง่ายขึ้น
2. วงจรพัฒนาระบบแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ    วงจรการพัฒนาระบบจะแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) การกำหนดปัญหา (Problem Definition)
2) การศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Study)
3) การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
4) การออกแบบระบบ (System Design)
5) การสร้างระบบ (System Construction)
6) การติดตั้งระบบ SDLC (System Implementation)
7) การประเมินและการบำรุงรักษาระบบ ( Post – implementation reviews
And maintenance)
3. ให้อธิบายขั้นตอนการตระหนักถึงปัญหาในระบบ พร้อมยกตัวอย่าง 1 ปัญหา
ตอบ    การเข้าใจปัญหาเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และความต้องการของผู้ใช้ เพื่อหาแนวทางของระบบใหม่ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้ดังนั้น ขั้นตอนนี้ จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดเนื่องจากผลลัพธ์ของการดำเนินงานในขั้นตอนการกำหนดปัญหา ก็คือ
1. เป้าหมายในการทำโครงการทั้งหมด ซึ่งจะเป็นทิศทางของการทำโครงการ
2. ขอบเขตของโครงการ ในการกำหนดปัญหาหรือเข้าใจปัญหา จะต้องกำหนดกิจกรรมของ
ระบบงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ กำหนดส่วนของระบบงานที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำโครงการ รวมทั้งข้อจำกัด เงื่อนไขต่างๆ ของการทำโครงการ
3. จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ในการจัดทำโครงการ รวมทั้งวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงาน
ในแต่ละขั้นตอนอย่างคร่าวๆ และจำนวนบุคลากรที่คาดว่าจะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนด้วย
          ปัญหา การซักผ้าด้วยมือ
4. ให้อธิบายขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหาในข้อ 3
ตอบ    1. เป้าหมายในการซักผ้าด้วยมือและเครื่องซักผ้า
          2. ขอบเขตของการซักผ้า
          3. จำนวนเงินทุนที่ใช้ในการซักผ้าด้วยมือและเครื่องซักผ้า
5. ให้อธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา ในข้อ 3 โดยแยกออกมาทั้งระบบเดิม และ
ระบบใหม่มีข้อดี และข้อเสียอย่างไร
ตอบ    ระบบเดิม : การซักผ้าด้วยมือ
          ข้อดี สามารถทำการซักให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้น้ำยาที่ถนอมใยผ้า และสามารถแช่ผ้าค้างคืนได้สำหรับการขจัดคราบที่เก่าเก็บ การซักผ้าด้วยมือ แม้จะเปลืองแรง แต่สามารถแช่ผ้า และใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิดเป็นตัวๆไปได้ โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า สามารถแช่น้ำยาปรับผ้านุ่มได้นานกว่าและดีกว่า
ข้อเสีย สิ้นเปลืองแรงงาน สิ้นเปลืองเวลา เสื้อผ้าแห้งช้า
ระบบใหม่ : การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า
          ข้อดี สะดวก รวดเร็ว ง่าย  สามารถใช้เคมีที่มีประสิทธิภาพสูง และสารฟอกขาวได้การปั่นแห้ง ทำได้ดีกว่าการซักด้วยมือ
ข้อเสีย สิ้นเปลืองน้ำและไฟฟ้า สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องซักผ้า ซักผ้าไม่ค่อยสะอาด
6. ให้บอกความหมายของการออกแบบการแก้ปัญหาในข้อ 3
ตอบ    การออกแบบ
-          ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผ้าที่จะใช้ซัก
การแก้ไขปัญหา
-          เข้าใจปัญหาของการซักผ้า
-          เข้าใจถึงความต้องการที่สะดวกและรวดเร็วควรใช้เลือกใช้วิธีใด
7. ให้บอกวิธีการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาในข้อ 3
ตอบ    การพัฒนาแนวทางการซักผ้า
-          ทำการทดสอบระหว่าง การซักผ้าด้วยมือกับการซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า
-          การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าดีกว่า
8. ให้บอกความจำเป็นในการดูแลและรักษาระบบ
ตอบ    การบำรุงรักษาระบบนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกระทำ เพื่อขจัดข้อผิดพลาดต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของระบบ และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบให้เหมาะสมกับการทำงานใหม่ การดำเนินการบำรุงรักษาระบบ จะต้องมีการวางแผนระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเงินทุนที่มีอยู่หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงส่วนหลักๆ ของระบบงานจะต้องมีการดำเนินการจัดโครงการใหม่ ขึ้นมา และมีการดำเนินงานไปตามขั้นตอนต่างๆ ของวงจรพัฒนาระบบ
9. ให้ยกตัวอย่าง ระบบการปฏิบัติงานบ้าน หรือ กิจวัตรประจำวันมา 1 กิจกรรม
พร้อมเขียนเป็นวงจรพัฒนาระบบทั้ง 7 ขั้น ( ตามตัวอย่าง 1 )
ตอบ    เข้าใจปัญหา ทำความเข้าใจกับปัญหาระบบการล้างจานแบบเดิม
ศึกษาความเป็นไปได้
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการล้างจานแบบเดิม
2.คาดคะเนค่าใช้จ่ายว่าจะต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่ ผลประโยชน์ เพื่อจะได้จานชามที่สะอาดและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม
วิเคราะห์
1. ศึกษาระบบการล้างจานแบบเดิม
2. มีความต้องการถ้วยจานที่มีความสะอาดถูกสุขลักษณะ
ออกแบบ
1.       เลือกซื้อน้ำยาล้างจานที่มีมาตรฐาน
2.       เลือกซื้อใยสังเคราะห์ที่ไม่ทำให้ถ้วยจานเป็นรอย
พัฒนาระบบ
1. แย่งภาชนะ
2. เก็บกวาดเศษอาหารก่อนล้าง
3. ใช้น้ำยาล้างจานพร้อมใยสังเคราะห์ชำระล้าง
4. ล้างด้วยน้ำเปล่าสะอาด 2 ครั้ง
5. ในกรณีที่มีเชื้อโรคเยอะให้แช่น้ำอุ่นทิ้งไว้
ติดตั้งระบบ
1. ทดลองระบบการล้างจานแบบใหม่
2. เริ่มใช้งานระบบการล้างจานแบบใหม่
3. ทดลองใช้งานระบบการล้างจานแบบใหม่
บำรุงรักษา
1. เข้าใจปัญหาระบบการล้างจานแบบเดิม
2. ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไขเกี่ยวกับระบบการล้างจานแบบเดิม
3. ตัดสินใจว่าจะแก้ไขระบบการล้างจานแบบเดิมหรือไม่
4. แก้ไขระบบการล้างจานแบบเดิม
5. แก้ไขระบบให้เป็นระบบการล้างจานแบบใหม่
6. ทดสอบระบบการล้างจานแบบใหม่
7. ใช้งานระบบการล้างจานที่แก้ไขแล้ว
10. ให้ยกตัวอย่าง ระบบการตัดสินใจซื้อสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
ของนักศึกษา โดยเขียนเป็นวงจรการพัฒนาระบบ ในขั้นที่ 1 – 7 ( ตามตัวอย่าง 2)
ตอบ    เข้าใจปัญหา ระบบการตัดสินใจซื้อสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ศึกษาความเป็นไปได้
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.คาดคะเนค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการซื้อสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ ผลประโยชน์ ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและสามารถใช้งานได้นาน เพื่อความประหยัดในการปฏิบัติงาน
วิเคราะห์
1. ศึกษาระบบการตัดสินใจในหลายๆด้าน
2. ต้องการสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มีคุณภาพ ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน
ออกแบบ
1. เลือกความจำเป็น
2. ค้นหาข้อมูลในสินค้า/บริการนั้นๆ
3. ตัดสินใจซื้อ
4. พฤติกรรมหลังการซื้อ
5. ประเมินตัวเลือกอื่นๆ ที่หลากหลาย
พัฒนาระบบ
1. หาร้านที่น่าสนเกี่ยวกับสินค้า / เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีมาตรฐานหลายๆร้าน
2. ซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานมาจากหลายๆร้าน
3. ทดสอบสินค้าที่ซื้อมา
ติดตั้งระบบ
1. นำเครื่องมาติดตั้งโปรแกรม
2. เริ่มใช้งานระบบใหม่
3. กรอกข้อมูลและทดลองใช้งาน
บำรุงรักษา
1. เข้าใจปัญหา
2. ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไข
3. ตัดสินใจว่าจะแก้ไขหรือไม่
4. แก้ไขเอกสาร คู่มือ
5. แก้ไขโปรแกรม
6. ทดสอบโปรแกรม

7. ใช้งานระบบที่แก้ไขแล้ว