บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสาร และงานที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
  ในการจัดทำการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร ผู้จัดทำ ได้ศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
          2.1 พืชสวน
          2.2 การรวบรวมข้อมูล
          2.3 เว็บไซต์ (Website)

2.1 พืชสวน
พืชสวน คือ พืชที่ปลูกในพื้นที่ไม่มากหรือมาก ๆ ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติดูแลรักษาอย่างประณีต ส่วนมากอายุยืน สามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน แบ่งออกได้เป็นหลายแขนง คือ
          1. พืชผัก หมายถึง พืชพวกที่ใช้ใบ ผล ราก ดอก หัว หรือลำต้นเป็นอาหาร ส่วนใหญ่เป็นพืช ที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า มะเขือเทศ พริก แครอท สะระแหน่ กะหล่ำปลี ผักกาดหัว กะหล่ำดอก และผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี เช่น ผักกระเฉด ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
          2. ไม้ผล หมายถึง ไม้ยืนต้นที่มีอายุหลายปี จึงจะให้ผลผลิต การทำสวนผลไม้ ชาวสวนจะต้องศึกษาหาความรู้ ความชำนาญ ความขยันหมั่นเพียรและปฏิบัติดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา เพราะการทำสวนผลไม้ต้องอาศัยเงินทุน และระยะเวลานานพอสมควรที่จะให้ผลผลิตออกจำหน่ายได้ พืชที่จัดว่าเป็นไม้ผล ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน มะขาม มังคุด ลำไย มะพร้าว ขนุน ชมพู่ ส้มต่างๆ เป็นต้น

2.2 การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล คือ การนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวมกันไว้ในรูปแบบที่เหมาะสม ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
          1. การสังเกต  หมายถึง การค้นหาข้อมูลด้วยตนเองโดยตรง เช่น การสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
          2. การสัมภาษณ์หรือการสอบถาม  หมายถึง การรวบรวมข้อมูลจากคนอื่นโดยผู้ถามใช้คำพูดในการถามและผู้ตอบใช้คำพูดในการตอบ
          3. การตอบแบบสอบถาม  หมายถึง แบบรายการคำถามที่ทำให้ผู้อื่นเขียนคำตอบลงในแบบสอบถามของผู้ถาม
          4. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารหรือแหล่งที่เก็บข้อมูล  เช่น  หนังสือพิมพ์  วารสาร  คอมพิวเตอร์  ที่บันทึกภาพ  แถบบันทึกเสียง
      การรักษาแหล่งข้อมูล คือ การรักษาสภาพของแหล่งข้อมูลให้คงอยู่และใช้งานได้นานๆ ซึ่งมีวิธีการดังนี้ แหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่ เช่น ห้องสมุด สถานที่ราชการ และแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร เช่น หนังสือต่างๆ  เอกสาร  วารสาร  นิตยสาร  เป็นต้น

2.3 เว็บไซต์ (Website)
       เว็บไซต์ หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจเว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น