แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3
1.
วงจรพัฒนาระบบ มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ วงจรการพัฒนาระบบ หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC เป็นวิธีการที่นักวิเคราะห์ระบบใช้ในการ
พัฒนาระบบงาน เพื่อที่จะใช้เรียงลำดับเหตุการณ์หรือกิจกรรม
ที่จะต้องกระทำก่อนหรือกระทำใน
ภายหลัง เพื่อที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบงานทำได้ง่ายขึ้น
2.
วงจรพัฒนาระบบแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ วงจรการพัฒนาระบบจะแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน
ดังนี้
1)
การกำหนดปัญหา (Problem
Definition)
2) การศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Study)
3) การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
4) การออกแบบระบบ (System Design)
5) การสร้างระบบ (System Construction)
6) การติดตั้งระบบ SDLC (System Implementation)
7) การประเมินและการบำรุงรักษาระบบ ( Post –
implementation reviews
And
maintenance)
3.
ให้อธิบายขั้นตอนการตระหนักถึงปัญหาในระบบ พร้อมยกตัวอย่าง 1 ปัญหา
ตอบ การเข้าใจปัญหาเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ
ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
และความต้องการของผู้ใช้
เพื่อหาแนวทางของระบบใหม่ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้ดังนั้น ขั้นตอนนี้ จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดเนื่องจากผลลัพธ์ของการดำเนินงานในขั้นตอนการกำหนดปัญหา
ก็คือ
1.
เป้าหมายในการทำโครงการทั้งหมด ซึ่งจะเป็นทิศทางของการทำโครงการ
2. ขอบเขตของโครงการ ในการกำหนดปัญหาหรือเข้าใจปัญหา จะต้องกำหนดกิจกรรมของ
ระบบงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
กำหนดส่วนของระบบงานที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำโครงการ รวมทั้งข้อจำกัด เงื่อนไขต่างๆ
ของการทำโครงการ
3. จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้ในการจัดทำโครงการ รวมทั้งวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงาน
ในแต่ละขั้นตอนอย่างคร่าวๆ
และจำนวนบุคลากรที่คาดว่าจะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนด้วย
ปัญหา การซักผ้าด้วยมือ
4.
ให้อธิบายขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหาในข้อ 3
ตอบ 1. เป้าหมายในการซักผ้าด้วยมือและเครื่องซักผ้า
2. ขอบเขตของการซักผ้า
3. จำนวนเงินทุนที่ใช้ในการซักผ้าด้วยมือและเครื่องซักผ้า
5.
ให้อธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา ในข้อ 3
โดยแยกออกมาทั้งระบบเดิม และ
ระบบใหม่มีข้อดี
และข้อเสียอย่างไร
ตอบ ระบบเดิม : การซักผ้าด้วยมือ
ข้อดี
สามารถทำการซักให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้น้ำยาที่ถนอมใยผ้า และสามารถแช่ผ้าค้างคืนได้สำหรับการขจัดคราบที่เก่าเก็บ
การซักผ้าด้วยมือ แม้จะเปลืองแรง แต่สามารถแช่ผ้า
และใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิดเป็นตัวๆไปได้ โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า
สามารถแช่น้ำยาปรับผ้านุ่มได้นานกว่าและดีกว่า
ข้อเสีย สิ้นเปลืองแรงงาน สิ้นเปลืองเวลา
เสื้อผ้าแห้งช้า
ระบบใหม่ : การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า
ข้อดี
สะดวก รวดเร็ว ง่าย สามารถใช้เคมีที่มีประสิทธิภาพสูง
และสารฟอกขาวได้การปั่นแห้ง ทำได้ดีกว่าการซักด้วยมือ
ข้อเสีย สิ้นเปลืองน้ำและไฟฟ้า
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องซักผ้า ซักผ้าไม่ค่อยสะอาด
6. ให้บอกความหมายของการออกแบบการแก้ปัญหาในข้อ 3
ตอบ การออกแบบ
-
ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผ้าที่จะใช้ซัก
การแก้ไขปัญหา
-
เข้าใจปัญหาของการซักผ้า
-
เข้าใจถึงความต้องการที่สะดวกและรวดเร็วควรใช้เลือกใช้วิธีใด
7.
ให้บอกวิธีการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาในข้อ 3
ตอบ การพัฒนาแนวทางการซักผ้า
-
ทำการทดสอบระหว่าง
การซักผ้าด้วยมือกับการซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า
-
การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าดีกว่า
8.
ให้บอกความจำเป็นในการดูแลและรักษาระบบ
ตอบ การบำรุงรักษาระบบนั้น
เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกระทำ เพื่อขจัดข้อผิดพลาดต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของระบบ
และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบให้เหมาะสมกับการทำงานใหม่ การดำเนินการบำรุงรักษาระบบ
จะต้องมีการวางแผนระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเงินทุนที่มีอยู่หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงส่วนหลักๆ
ของระบบงานจะต้องมีการดำเนินการจัดโครงการใหม่ ขึ้นมา และมีการดำเนินงานไปตามขั้นตอนต่างๆ
ของวงจรพัฒนาระบบ
9.
ให้ยกตัวอย่าง ระบบการปฏิบัติงานบ้าน หรือ กิจวัตรประจำวันมา 1 กิจกรรม
พร้อมเขียนเป็นวงจรพัฒนาระบบทั้ง
7 ขั้น ( ตามตัวอย่าง 1 )
ตอบ เข้าใจปัญหา ทำความเข้าใจกับปัญหาระบบการล้างจานแบบเดิม
ศึกษาความเป็นไปได้
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการล้างจานแบบเดิม
2.คาดคะเนค่าใช้จ่ายว่าจะต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่ ผลประโยชน์ เพื่อจะได้จานชามที่สะอาดและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม
วิเคราะห์
1. ศึกษาระบบการล้างจานแบบเดิม
2. มีความต้องการถ้วยจานที่มีความสะอาดถูกสุขลักษณะ
ออกแบบ
1.
เลือกซื้อน้ำยาล้างจานที่มีมาตรฐาน
2.
เลือกซื้อใยสังเคราะห์ที่ไม่ทำให้ถ้วยจานเป็นรอย
พัฒนาระบบ
1. แย่งภาชนะ
2. เก็บกวาดเศษอาหารก่อนล้าง
3. ใช้น้ำยาล้างจานพร้อมใยสังเคราะห์ชำระล้าง
4. ล้างด้วยน้ำเปล่าสะอาด 2 ครั้ง
5. ในกรณีที่มีเชื้อโรคเยอะให้แช่น้ำอุ่นทิ้งไว้
ติดตั้งระบบ
1. ทดลองระบบการล้างจานแบบใหม่
2. เริ่มใช้งานระบบการล้างจานแบบใหม่
3. ทดลองใช้งานระบบการล้างจานแบบใหม่
บำรุงรักษา
1. เข้าใจปัญหาระบบการล้างจานแบบเดิม
2. ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไขเกี่ยวกับระบบการล้างจานแบบเดิม
3. ตัดสินใจว่าจะแก้ไขระบบการล้างจานแบบเดิมหรือไม่
4. แก้ไขระบบการล้างจานแบบเดิม
5. แก้ไขระบบให้เป็นระบบการล้างจานแบบใหม่
6. ทดสอบระบบการล้างจานแบบใหม่
7. ใช้งานระบบการล้างจานที่แก้ไขแล้ว
10.
ให้ยกตัวอย่าง ระบบการตัดสินใจซื้อสินค้า / เครื่องมือ
เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
ของนักศึกษา
โดยเขียนเป็นวงจรการพัฒนาระบบ ในขั้นที่ 1 – 7 ( ตามตัวอย่าง
2)
ตอบ เข้าใจปัญหา ระบบการตัดสินใจซื้อสินค้า
/ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ศึกษาความเป็นไปได้
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
/ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.คาดคะเนค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการซื้อสินค้า
/ เครื่องมือ เครื่องใช้ ผลประโยชน์ ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและสามารถใช้งานได้นาน
เพื่อความประหยัดในการปฏิบัติงาน
วิเคราะห์
1.
ศึกษาระบบการตัดสินใจในหลายๆด้าน
2. ต้องการสินค้า
/ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มีคุณภาพ ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน
ออกแบบ
1. เลือกความจำเป็น
2. ค้นหาข้อมูลในสินค้า/บริการนั้นๆ
3. ตัดสินใจซื้อ
4. พฤติกรรมหลังการซื้อ
5. ประเมินตัวเลือกอื่นๆ
ที่หลากหลาย
พัฒนาระบบ
1. หาร้านที่น่าสนเกี่ยวกับสินค้า
/ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีมาตรฐานหลายๆร้าน
2.
ซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานมาจากหลายๆร้าน
3.
ทดสอบสินค้าที่ซื้อมา
ติดตั้งระบบ
1. นำเครื่องมาติดตั้งโปรแกรม
2.
เริ่มใช้งานระบบใหม่
3.
กรอกข้อมูลและทดลองใช้งาน
บำรุงรักษา
1. เข้าใจปัญหา
2.
ศึกษาสิ่งที่จะต้องแก้ไข
3.
ตัดสินใจว่าจะแก้ไขหรือไม่
4. แก้ไขเอกสาร
คู่มือ
5. แก้ไขโปรแกรม
6. ทดสอบโปรแกรม
7.
ใช้งานระบบที่แก้ไขแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น